ผิวไวต่อแสง และ ผิวแพ้แสง ต่างกันอย่างไร?

2 อาการนี้ดูเหมือนจะคล้ายกัน แต่จริงๆแล้วไม่เลย จึงทำให้การป้องกันและรักษาต่างกัน แล้วผิวเราเป็นแบบไหนระหว่าง ผิวไวต่อแสง หรือ ผิวแพ้แสง มาหาคำตอบกัน

บทความนี้เป็นการอธิบายให้เห็นภาพรวมของผิวทั้ง 2 ชนิด เพื่อให้บุคคลทั่วไปเข้าใจและสังเกตุได้ง่าย ซึ่งในทางตจวิทยา(แพทย์ผิวหนัง) จะมีรายละเอียดการแบ่งกลุ่มโรคที่ซับซ้อนกว่านี้

ผิวไวต่อแสง

ผิวไวต่อแสง(photosensitivity) คือ สภาวะการตอบสนองความทนทานของผิวหนังต่อแสง ซึ่งแบ่งสาเหตุของผิวไวต่อแสงได้ดังนี้

  1. ผิวบาง เกิดจากการมีชั้นผิวที่บางกว่าปกติ ทำให้แสงทะลุผ่านและทำลายผิวได้ง่าย
  2. ผิวอ่อนแอ เป็นอาการของผิวที่ถูกรบกวนด้วยสารเคมี ทำให้ผิวผิดปกติและมีอาการผิวแพ้ง่ายร่วมด้วย
  3. ผิวขาว เป็นกรรมพันธ์ของแต่ละเชื้อชาติ โดยที่คนผิวขาวจะมีผิวไวต่อแสงกว่าคนผิวคล้ำ

อาการของผิวไวต่อแสงมีดังนี้

  1. ผิวแดง คล้ำ ดำเสียเร็ว
  2. สำหรับคนที่มีฝ้ากระ ฝ้ากระจะขึ้นชัดและเข้มช่วงออกแดด
  3. ผิวแสบร้อนเร็ว ถ้าโดนแดดจัดติดต่อกัน 30 นาทีอาจเกิดผิวไหม้ได้
  4. บางคนจะมีตุ่มหรือผดเล็กๆขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้คนไทยเป็นผิวไวต่อแสงมีดังนี้

  1. อยากขาว โดยใช้สารเร่งการผลัดผิวเช่น ครีมลอกผิว ครีมผิวขาวไว ทำให้เกิดอาการผิวบางในที่สุด มีผลทำให้เกิดฝ้ากระตามมา
  2. ฮอร์โมน เช่น ผู้หญิงที่ใกล้หมดประจำเดือน จะเริ่มมีภาวะผิวบาง ผิวแห้ง ผิวขาดความชุ่มชื้น ฝ้ากระขึ้นง่าย
  3. ยาบางชนิด เช่น ยาทาแก้สิว Retinoic acid หรือยาทานแก้ปวดบางชนิด มีผลกระตุ้นให้เกิดผิวไวต่อแสง
  4. กรรมพันธ์ เช่น มีเชื้อชาติของคนผิวขาวผสม  ทำให้ผิวไวต่อแสงเร็วกว่าคนไทยทั่วไป

สำหรับผู้ที่มีอาการผิวไวต่อแสง ควรดูแลตัวเองดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงช่วงแดดจัดๆ ในเวลา 10.00-15.00 น.
  2. ถ้าต้องออกแดดจัด ต้องมีเครื่องป้องกัน เช่น ร่ม ครีมกันแดด หรือ กินกันแดด-ซันอะเวย์(SunAway)
  3. หยุดใช้ครีมหรือสารเคมีที่เร่งการผลัดผิว แนะนำให้ใช้ครีมบำรุงหรือมอยเจอร์ไรเซอร์แทน เพื่อการฟื้นฟูผิว
  4. ทานผักสีเขียวและผลไม้หลากสีเยอะๆ เพราะกลุ่มแคโรทีนอยด์ในผักผลไม้ ช่วยฟื้นฟูผิวได้ดี

 

ผิวแพ้แสง

“ผิวแพ้แสง” หรือ โรคผื่นแพ้แสง (Chronic Actinic Dermatitis) เป็นการแพ้แสงรังสียูวีเอหรือยูวีบีหรือทั้งสอง เป็นโรคที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันต่อร่างกาย เมื่อผิวโดนแสงแดด แดดจะกระตุ้นผิวให้เกิดอาการแพ้

อาการของผิวแพ้แสง

  1. มักจะพบผื่นเฉพาะบริเวณที่ผิวถูกแสงแดด เช่น หน้า คอ แขน ขา
  2. มักไม่พบผื่นบริเวณที่ไม่ถูกแสง เช่น ข้อพับ ในร่มผ้า
  3. อาการผื่นจะหนักขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่ออกแดด หรือโดนแดดจัดๆ เช่น เที่ยวทะเล ช่วงฤดูร้อน
  4. อาการผื่นจะมีตั้งแต่ผื่นผดทั่วไป ผื่นต่อมน้ำเหลือง จนถึงผื่นแสบร้อนเหมือนผิวไหม้

เชื่อหรือไม่!!!! ว่าคนไทยมีคนเป็นโรคแพ้แสงเยอะมาก

เมื่อพบว่าทุกครั้งที่ออกแดดแล้วมีอาการผื่นขึ้น แนะนำให้พบแพทย์ผิวหนังทันทีเพื่อหาต้นตอของอาการและวิธีรักษาต่อไป

การดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวแพ้แสง

  1. หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด โดยเฉพาะช่วงแดดจัดๆเวลา 10.00-15.00 น.
  2. ป้องกันผิวหนังไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เช่น หมวก ร่ม เสื้อแขนยาว แว่นตาและครีมกันแดด
  3. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมและแอลกอฮอล์เพื่อลดการระคายผิว

สามารถทาน กินกันแดด-ซันอะเวย์(SunAway) เพื่อช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ลดความเสียหายของผิวได้แต่ต้องอยู่ภายใต้การป้องกันไม่ให้ถูกแดดด้วย