กระลึก(Nevus of Hori) มีอีกชื่อว่า กระโฮริ หรือปานโฮริ เนื่องจากแพทย์ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ตั้งชื่อนี้ขึ้นมา

ลักษณะของ “กระลึก” เป็นจุดราบสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลเทา พบรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง หรือบริเวณขมับ

กระลึก กระโฮริ ปานโฮริ

กระลึก กระโฮริ

กระลึก กระโฮริ ปานโฮริ

กระลึก กระโฮริ

กระลึก กระโฮริ ปานโฮริ

กระลึก กระโฮริ

กระลึก กระโฮริ ปานโฮริ เกิดขึ้นในชั้นผิวหนังแท้(Dermis) จึงทำให้กระชนิดนี้ไม่มีปฏิกิริยาต่อครีมหรือเซรั่มทาฝ้าใดๆทั้งสิ้น

ลักษณะทางกายภาพของ

ลักษณะทางกายภาพของ “กระลึก”

“กระลึก” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

กระลึก กระโฮริ ปานโฮริ สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่ามาจาก 4 ปัจจัยดังนี้

  1. แสงแดด : กระตุ้นให้เซลล์เมลาโนไซต์(Melanocyte) ทำงานผิดปกติ
  2. การเคลื่อนกระจายตัวของเซลล์เม็ดสีจากรากขน(HAIR ROOT) บริเวณใบหน้า
  3. การอักเสบของผิวหรือเส้นเลือดฝอยแตก ทำให้เกิดสารบางชนิดไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีในระดับผิวชั้นหนังแท้(dermis)
  4. ปัจจัยภายในอื่นๆ ได้แก่ กรรมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนช่วงตั้งครรถ์ หรือการทานยาที่มีผลกระทบกับฮอร์โมนเช่น ยาคุม

“กระลึก” มีโอกาสเกิดขึ้นกับใครบ้าง?

  • “กระลึก” กระโฮริ ปานโฮริ พบมากที่สุดในชาวเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินเดีย และไทย รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด
  • ส่วนใหญ่เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • ช่วงอายุที่พบ “กระลึก” มากที่สุดคือ 20 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็น “กระลึก” มีโอกาสเป็น “กระลึก” สูงมาก
  • ผู้หญิงตั้งครรถ์มีโอกาสเป็น “กระลึก” สูงมาก เมื่อระยะเวลาผ่านไป “กระลึก” จะชัดและเข้มขึ้น