กระลึก(Nevus of Hori) มีอีกชื่อว่า กระโฮริ หรือปานโฮริ เนื่องจากแพทย์ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ตั้งชื่อนี้ขึ้นมา
ลักษณะของ “กระลึก” เป็นจุดราบสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลเทา พบรวมกันเป็นกลุ่มบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง หรือบริเวณขมับ
กระลึก กระโฮริ
กระลึก กระโฮริ
กระลึก กระโฮริ
กระลึก กระโฮริ ปานโฮริ เกิดขึ้นในชั้นผิวหนังแท้(Dermis) จึงทำให้กระชนิดนี้ไม่มีปฏิกิริยาต่อครีมหรือเซรั่มทาฝ้าใดๆทั้งสิ้น
“กระลึก” เกิดขึ้นได้อย่างไร?
กระลึก กระโฮริ ปานโฮริ สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่ามาจาก 4 ปัจจัยดังนี้
- แสงแดด : กระตุ้นให้เซลล์เมลาโนไซต์(Melanocyte) ทำงานผิดปกติ
- การเคลื่อนกระจายตัวของเซลล์เม็ดสีจากรากขน(HAIR ROOT) บริเวณใบหน้า
- การอักเสบของผิวหรือเส้นเลือดฝอยแตก ทำให้เกิดสารบางชนิดไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีในระดับผิวชั้นหนังแท้(dermis)
- ปัจจัยภายในอื่นๆ ได้แก่ กรรมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนช่วงตั้งครรถ์ หรือการทานยาที่มีผลกระทบกับฮอร์โมนเช่น ยาคุม
“กระลึก” มีโอกาสเกิดขึ้นกับใครบ้าง?
- “กระลึก” กระโฮริ ปานโฮริ พบมากที่สุดในชาวเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน อินเดีย และไทย รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด
- ส่วนใหญ่เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
- ช่วงอายุที่พบ “กระลึก” มากที่สุดคือ 20 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็น “กระลึก” มีโอกาสเป็น “กระลึก” สูงมาก
- ผู้หญิงตั้งครรถ์มีโอกาสเป็น “กระลึก” สูงมาก เมื่อระยะเวลาผ่านไป “กระลึก” จะชัดและเข้มขึ้น
Leave A Comment